วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

บทที่1 ส่วนที่ 4 หลักการและทฤษฎีทางอาชีวศึกษา

อาชีวศึกษา



บทที่1 ส่วนที่ 4 ....... หลักการและทฤษฎีทางอาชีวศึกษา


Learing = การรับรู้ ทักษะ  และเจตคติ เกิดได้ทุกสถานที่ ทุกเวลาไม่มีการวางแผน หรืออาจจะมีการวางแผน  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร  อันเนื่องมาจากการเกิดประสบการณ์
Education = จัดกระบวนการให้เกิดผลการเรียนรู้ ต้องมีการวางแผนเป็นไปได้โดยจงใจ

แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser (1925)
แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser (1925) เป็นนักกฎหมาย ที่ได้อธิบายถึงทฤษฎีอาชีวศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนอาชีวศึกษามีทั้งหมด 16 ข้อ กล่าวโดยสรุปสาระสำคัญ ได้ดังต่อไปนี้
1. ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2. ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3. ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
4. ต้อง คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
6. ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
7.  ผู้สอนควรมีประสบการณ์การท างานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
8. ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
9. ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
10. ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัดจำลอง
11. ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควร คำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.  ควร จัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
14. ควร ให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.  ควร มีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
16. ควร มีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า

เมื่อนำมาจัดเป็นกระบวนการ

Input
4. ต้อง คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
7.  ผู้สอนควรมีประสบการณ์การทำงานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
9. ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
11. ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควร คำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.  ควร จัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
16. ควร มีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
 
 
Process
 
1. ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2. ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3. ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
6. ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
8. ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
10. ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัดจำลอง
 
 
Output
 
14. ควร ให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.  ควร มีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

บทที่ 1 ส่วนที่3 วิวัฒนาการของอาชีวศึกษา

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง.....วิวัฒนาการของอาชีวศึกษา


            วิวัฒนาการของอาชีวศึกษา  ในแต่ละสมัยนั้นแต่งต่างกันออกไป 
-ในสมัยสุโขทัย เราจะได้เรียนรู้มาจากครอบครัว สมมุติว่าครอบครัวเราประกอบอาชีพใด ลูกหลานก็จะมีความรู้ในเรื่องนั้นและประกอบอาชีพตามครอบครัว  
-สมัยกรุงธนบุรี ในสมัยนี้จะเน้นเกี่ยวกับการปกป้องประเทศมากกว่า ไม่ต่อยสนใจในเรื่องของอาชีพมากนัก 
-ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.1-ร.4) ในสมัยนี้การอาชีวศึกษาไม่ได้แยกออกมาอย่างเด่นชัดเท่าไหร่ แต่เป็นการเรียนหนังสือกับการสอนวิชาเพื่อประกอบอาชีพควบคู่กันไป โดยมีพระประมุขเป็นผู้สนับสนุน ต่อมา
-ในสมัยรัชการที่5 ภายหลังการเปลี่ยนแปลง   ได้พระบรมราชานุญาตให้ศาสตร์จารย์แมคฟาร์แลนด์รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานโรงเรียนสวนอนันต์ที่วังนันทอุทยาน  โดยการสอนนั้นห้ามไม่ให้สอนศาสนาคริสเตียน  ให้สอนแต่ธรรมเนียมหนังสือและให้ฝึกหัดลายมือเหมือนวิชาคิดเลขและวิชาช่างที่เป็นประโยชน์และธรรมเนียมต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ
- ปัจจุบัน  การปกครอง โดยคณะราษฎร์ ได้พูดถึง ประกาศหลัก 6 ประการเป็นการบริหารประเทศ จากแผนการศึกษา พ.ศ.2548 มีการเรียนการสอนในขั้นเตรียมอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยนั่นเอง โดยที่การอาชีวศึกษาก็ได้มีการจัดการเรียนการสอนในขั้นอุดมศึกษานี้ด้วย

นิทาน เรื่องหลักสูตรสมัยหิน

บทที่ 1 ส่วนที่ 2   การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง


......นิทานเรื่องหลักสูตรสมัยหิน.....


ได้อ่านนิทานเรื่องหลักสูตรสมัยหิน  สาระสำคัญจากการอ่านคือ


1.น่าสนใจแนวคิดของการจัดการศึกษาของคนในยุคค้อน โดยการเปรียบเทียบกิจกรรมของเด็กและผู้ใหญ่ ว่าเด็กทำกิจกรรมเพื่อสร้างความสนุกสนาน แต่ผู้ใหญ่ทำกิจกรรมเพื่อการกินดีอยู่ดี และสร้างกระบวนระบบการศึกษา สร้างความกินดีอยู่ดี มีเครื่องนุ่งห่ม มีที่อยู่อาศัย  จึงเป็นที่มาของวิชาที่ต้องเรียนในหลักสูตรสมัยยุคหิน


2.เพื่อตอบสนองปรัญญาแนวคิดของการจัดการหลักสูตรยุคค้อนใหม่  มีการจัดการเป็น 3 วิชา
คือ -    วิชาจับปลาด้วยมือเปล่า   เป็นการเรียนเพื่อหาเนื้อสัตว์มาบริโภค ฝึกให้มีความอดทน ว่องไว
-    วิชาใช้กระบองทุบหัวม้าแกลบ   เป็นการเรียนเพื่อใช้เนื้อและหนังของสัตว์มาทำเครื่องนุ่งห่ม ฝึกให้มีความแข็งแรง รวดเร็ว 
-    วิชาใช้ไฟไล่เสือ  เป็นการเรียนเพื่อขับไล่ภัยอันตรายจากสัตว์ร้าย รวมทั้งฝึกความกล้าหาญ


3.ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยจับปลามือเปล่าก็ใช้สวิงในการจับปลา  มีการใช้แร้วดักเลียงผา และมีการขุดหลุมดักหมี  ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น มีวิชาใหม่เกิดขึ้น ซึ่ง 3 วิชานี้คือ อาชีพศึกษา  ส่วน  วิชาเดิม เรียกว่า การศึกษา เพราะเป็นการวางรากฐานที่ดีให้แก่เยาวชนของเผ่า


4.คำว่า อาชีวศึกษา  = การศึกษา  + อาชีพศึกษา    โดยคำว่า การศึกษา หมายถึง สิ่งที่ได้เตรียมจัดให้ไว้กับผู้เรียนโดยมีวัตถุประสงค์และสาระที่ชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง
อาชีพศึกษา  มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยตลอด  เพราะ เป็นการให้ความรู้เพื่อนำมาหาเลี้ยงชีพซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ในอาชีพนั้นๆ  ส่วนการศึกษา  มาจากคำว่า General Education  ซึ่งก็คือ การศึกษาทั่วไป  จำเป็นต้องมีปรากฎในทุกหลักสูตร หรือเรียกว่า Common  Curriculum


5.คำกล่าวที่ว่า "แก่นแท้ของการศึกษาไม่มีวันล้าสมัย เปรียบประดุจผาหิน ซึ่งยืนตระหง่านได้อยากมั่งคั่งชั่วกาลนาน"   จึงหมายความว่า การจัดการศึกษาสายอาชีพ  มิใช่ให้เนื้อหาสาระหรือทักษะประกอบอาชีพเพียงอยากเดียว แต่หลักสูตรของการจัดการศึกษาสายอาชีพจำเป็นและสำคัญย่างยิ่งทุกหลักสูตร  ต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลได้ วางแผน แก้ไขปัญหา  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ซื่อสัตย์ เห็นแแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชนืส่วนตน  สิ่งเหล่านี้ คือ แก่นแท้ของการศึกษา   ที่ไม่มีวันล้าสมัยและหนักแน่น  ดุจดังผาหินนั่นเอง


วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

สอช.


วันนี้พูดถุงเรื่องของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ว่ามีกี่แห่ง และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
จากการเรียนจึงได้่ทราบถึงข้อมูลต่างๆของ สอช.

พันธกิจของ 
• จัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพมาตรฐาน
• ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพ อย่างทั่วถึงและเสมอภาค 
• วิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาอาชีพ
สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีจำนวน 415 แห่ง ประกอบด้วย
1. วิทยาลัยเทคนิค110 แห่ง
2. วิทยาลัยอาชีวศึกษา36 แห่ง
3. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี43 แห่ง
4. วิทยาลัยสารพัดช่าง53 แห่ง
5. วิทยาลัยการอาชีพ 142 แห่ง
6. วิทยาลัยพณิชยการ5 แห่ง
7. วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการต่อเรือ3 แห่ง
8. วิทยาลัยศิลปหัตกรรม2 แห่ง
9. วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยว3 แห่ง
10. วิทยาลัยประมง4 แห่ง
11. กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง 1 แห่ง
12. วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ11 แห่ง
13. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์   1 แห่ง
14. ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร1 แห่ง

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ตราสัญลักษณ์



วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับ 1 -11

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน 1-11
ฉบับที่ 1 (2504-2509)  ฉบับนี้เน้นเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาเพื่อผลิตคนและเศรษฐกิจของประเทศให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ต้องการคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อวางแผนพัฒนาประเทศให้ก้าวทันต่อข่าวสารและเหตุการณ์ในปัจจุบัน
ฉบับที่ 2 (2510-2514) ฉบับนี้เน้นการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เพื่อรวมเทคนิคธนบุรีเข้าด้วยกัน
ฉบับที่ 3 (2515-2519)  เน้นการส่งเสริมสนับสนุนด้านการเกษตร  มุ่งเน้นความสำคัญของอาชีวศึกษาควบคู่ไปกับการเกษตร มีการประกาศใช้พ.ร.บ.วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา คือรวมอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเทคนิค 28 แห่งเข้าด้วยกันและเปิดสอนปริญญาตรี
ฉบับที่ 4 (2520-2524)  มุ่งเน้นเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ มีโครงสร้างหลักสูตรให้มีความเพียงพอในการประกอบอาชีพ ได้กำหนดนโยบายที่จะพัฒนาการศึกษาในชนบทเพื่อการประกอบอาชีพ
ฉบับที่ 5 (2525-2529) เน้นพัฒนาการศึกษาทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพให้เหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจ เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความรู้ ความคิ ความสามารถที่จะพัฒนาประเทศได้
ฉบับที่ 6 (2530-2534)  ฉบับนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมาก โดยเน้นฝึกการปฎิบัติด้านการงาน การลงมือทำ อย่างเป็นกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอน   เพื่อเพิ่ม ค่านิยม คุณธรรม ทักษะ และความสามารถให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และขยายสู่ท้องถิ่น
ฉบับที่ 7 (2535-2539) เน้นการพัฒนาการผลิตกำลังคนให้มีความรู้และทักษะที่ดีกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีการประกอบอาชีพอิสระ ส่งเสริมวิชาชีพระยะสั้นแก่ชุมชน
ฉบับที่ 8 (2540-2544) เน้นการฝึกงานให้เกิดความชำนาญด้านทักษะทั้งในสถานศึกษาและสถานประกอบการ  เร่งรัดการดำเนินงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
ฉบับที่ 9 (2545-2549) ได้นำแนวคิดพระราชดำรัชของในหลวงมาใช้ คือ เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นให้ทุกคนมีความพอดี พอประมาน ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป
ฉบับที่ 10 (2550-2554)ยังคงยึดพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญภาย ใต้หลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”   เพื่อให้สามารถพึ่งตนเอง   มีภูมิคุ้มกันและสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นทุกมิติ   โดยอาศัยทุนของประเทศที่มีสะสมอยู่มากมาย  ทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเสริม สร้างให้เข้มแข็ง  เป็นรากฐานการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว  ชุมชนและสังคม รวมทั้งระดับประเทศ
ฉบับที่ 11 (2555-2559)ในฉบับปัจจุบันนี้ เน้น พัฒนาเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการเป็นประชาคมอาเซียนิ 3 ด้านด้วยกัน
1.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน 
2.การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาผสมผสานร่วมกับจุดแข็งในสังคมไทยเช่นเชื่อมโยงกับ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น
ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ 

3.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ เป็นปัจจัยการผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจยุคใหม่ ไปกับการผสมผสานกับเทคโนโลยียุคใหม่ เข้ากับความคิดสร้างสรรค์และความรู้เหมาะสกลายเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า การใช้เทคโนโลยีเช่นเครื่องจักร
ประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ


    บทที่ 1 เรื่องหลักสูตรและวิวัฒนาการของ อาชีวศึกษา

    ...อาชีวศึกษา เริ่มต้นมาจากการศึกษานอกระบบ การความรู้ที่ถ่ายทอดมาในครอบครัว จากรุ่นสู่รุ่น จนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ กระทั่งเห็นความสำคัญของ อาชีวศึกษา จึงจัดเข้าสู่ การเรียนในระบบต่อไป..
    ...วิวัฒนาการของอาชีวศึกษา  ในแต่ละสมัยนั้นแต่งต่างกันออกไป ในสมัยสุโขทัย เราจะได้เรียนรู้มาจากครอบครัว สมมุติว่าครอบครัวเราประกอบอาชีพใด ลูกหลานก็จะมีความรู้ในเรื่องนั้นและประกอบอาชีพตามครอบครัว  สมัยกรุงธนบุรี ในสมัยนี้จะเน้นเกี่ยวกับการปกป้องประเทศมากกว่า ไม่ต่อยสนใจในเรื่องของอาชีพมากนัก ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.1-ร.4) ในสมัยนี้การอาชีวศึกษาไม่ได้แยกออกมาอย่างเด่นชัดเท่าไหร่ แต่เป็นการเรียนหนังสือกับการสอนวิชาเพื่อประกอบอาชีพควบคู่กันไป โดยมีพระประมุขเป็นผู้สนับสนุน ต่อมาในสมันรัชการที่5 ภายหลังการเปลี่ยนแปลง - ปัจจุบัน  การปกครอง โดยคณะราษฎร์ ได้พูดถึง ประกาศหลัก 6 ประการเป็นการบริหารประเทศ จากแผนการศึกษา พ.ศ.2548 มีการเรียนการสอนในขั้นเตรียมอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยนั่นเอง โดยที่การอาชีวศึกษาก็ได้มรการจัดการเรียนการสอนในขั้นอุดมศึกษานี้ด้วย

    วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

    การศึกษาด้วยตนเอง บทที่ 1 เรื่อง สาระเบื้องต้นของอาชีวศึกษา

    1. บทนำ เรื่องแนวคิดของอาชีวศึกษา   
    ...........อาชีวเกิดขึ้นครั้งแรกทั้งในไทยและสากล เริ่มแรกเกิดขึ้นที่เป็นการศึกษานอกระบบ เป็นการเรียนที่ไม่มีแบบแผน เนื้อหาความรู้เพื่อการยังชีพ ถ่ายทอดสู่รุ่นต่อรุ่น แต่ต่อมาได้มีหน่วยงานเข้ามาวางนโยบายกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานได้ชัดเจนมากขึ้น
    ...........ถ้ามีคนถามว่าอาชีวศึกษานั้น คือ อะไร หลายคนคงตอบว่า คือ การเรียนที่ทำให้มีอาชีพ นั่นล่ะคืออาชีวศึกษา  ความหมายของอาชีวศึกษานั้นยังไม่ลงตัว แต่มีข้อสังเกตที่ทำให้อาชีวศึกษา ต่างจากการประกอบอาชีพคือ 1ระดับของการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก้อตาม อาชีวศึกษาไม่ใช่การเรียนเพื่อการประกอบอาชีพเพียงเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะที่ใช้ในการดำรงชีวิต การติดต่อสื่อสาร และทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกันในสังคม
    .........เป้าหมายของอาชีวศึกษา คือ เพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานได้ โดยต้องมีคุณสมบัติ คือ 1.ความเป็นเอกในการแข่งขัน 2.ผลิตผลงานที่มีคุณภาพ 3.มีทักษะปฎิรูปแบบผสมผสาน 4.มีคุณค่าและจริยธรรม 5.เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 6.ตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ซึ่งคุณสมบัติทั้ง 6 ทำให้เกิดเป้าหมายที่แท้จริงของอาชีวศึกษา ที่ว่า" ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา ใช้เวลาให้เกิดคุณ"