วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับ 1 -11

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน 1-11
ฉบับที่ 1 (2504-2509)  ฉบับนี้เน้นเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาเพื่อผลิตคนและเศรษฐกิจของประเทศให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ต้องการคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อวางแผนพัฒนาประเทศให้ก้าวทันต่อข่าวสารและเหตุการณ์ในปัจจุบัน
ฉบับที่ 2 (2510-2514) ฉบับนี้เน้นการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เพื่อรวมเทคนิคธนบุรีเข้าด้วยกัน
ฉบับที่ 3 (2515-2519)  เน้นการส่งเสริมสนับสนุนด้านการเกษตร  มุ่งเน้นความสำคัญของอาชีวศึกษาควบคู่ไปกับการเกษตร มีการประกาศใช้พ.ร.บ.วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา คือรวมอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเทคนิค 28 แห่งเข้าด้วยกันและเปิดสอนปริญญาตรี
ฉบับที่ 4 (2520-2524)  มุ่งเน้นเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ มีโครงสร้างหลักสูตรให้มีความเพียงพอในการประกอบอาชีพ ได้กำหนดนโยบายที่จะพัฒนาการศึกษาในชนบทเพื่อการประกอบอาชีพ
ฉบับที่ 5 (2525-2529) เน้นพัฒนาการศึกษาทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพให้เหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจ เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความรู้ ความคิ ความสามารถที่จะพัฒนาประเทศได้
ฉบับที่ 6 (2530-2534)  ฉบับนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมาก โดยเน้นฝึกการปฎิบัติด้านการงาน การลงมือทำ อย่างเป็นกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอน   เพื่อเพิ่ม ค่านิยม คุณธรรม ทักษะ และความสามารถให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และขยายสู่ท้องถิ่น
ฉบับที่ 7 (2535-2539) เน้นการพัฒนาการผลิตกำลังคนให้มีความรู้และทักษะที่ดีกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีการประกอบอาชีพอิสระ ส่งเสริมวิชาชีพระยะสั้นแก่ชุมชน
ฉบับที่ 8 (2540-2544) เน้นการฝึกงานให้เกิดความชำนาญด้านทักษะทั้งในสถานศึกษาและสถานประกอบการ  เร่งรัดการดำเนินงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
ฉบับที่ 9 (2545-2549) ได้นำแนวคิดพระราชดำรัชของในหลวงมาใช้ คือ เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นให้ทุกคนมีความพอดี พอประมาน ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป
ฉบับที่ 10 (2550-2554)ยังคงยึดพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญภาย ใต้หลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”   เพื่อให้สามารถพึ่งตนเอง   มีภูมิคุ้มกันและสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นทุกมิติ   โดยอาศัยทุนของประเทศที่มีสะสมอยู่มากมาย  ทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเสริม สร้างให้เข้มแข็ง  เป็นรากฐานการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว  ชุมชนและสังคม รวมทั้งระดับประเทศ
ฉบับที่ 11 (2555-2559)ในฉบับปัจจุบันนี้ เน้น พัฒนาเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการเป็นประชาคมอาเซียนิ 3 ด้านด้วยกัน
1.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน 
2.การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาผสมผสานร่วมกับจุดแข็งในสังคมไทยเช่นเชื่อมโยงกับ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น
ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ 

3.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ เป็นปัจจัยการผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจยุคใหม่ ไปกับการผสมผสานกับเทคโนโลยียุคใหม่ เข้ากับความคิดสร้างสรรค์และความรู้เหมาะสกลายเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า การใช้เทคโนโลยีเช่นเครื่องจักร
ประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ


    3 ความคิดเห็น:

    1. น่าจะมีแบบสรุปทุกอย่างเอาไว้ด้วยนะครับ
      แบบอ่านแล้วเข้าใจง่าย

      ตอบลบ
    2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ตอบลบ