วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

บทที่1 ส่วนที่ 4 หลักการและทฤษฎีทางอาชีวศึกษา

อาชีวศึกษา



บทที่1 ส่วนที่ 4 ....... หลักการและทฤษฎีทางอาชีวศึกษา


Learing = การรับรู้ ทักษะ  และเจตคติ เกิดได้ทุกสถานที่ ทุกเวลาไม่มีการวางแผน หรืออาจจะมีการวางแผน  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร  อันเนื่องมาจากการเกิดประสบการณ์
Education = จัดกระบวนการให้เกิดผลการเรียนรู้ ต้องมีการวางแผนเป็นไปได้โดยจงใจ

แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser (1925)
แนวคิดทฤษฎีอาชีวศึกษา Prosser's Sixteen Theorems ของ Charles A. Prosser (1925) เป็นนักกฎหมาย ที่ได้อธิบายถึงทฤษฎีอาชีวศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนอาชีวศึกษามีทั้งหมด 16 ข้อ กล่าวโดยสรุปสาระสำคัญ ได้ดังต่อไปนี้
1. ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2. ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3. ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
4. ต้อง คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
6. ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
7.  ผู้สอนควรมีประสบการณ์การท างานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
8. ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
9. ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
10. ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัดจำลอง
11. ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควร คำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.  ควร จัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
14. ควร ให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.  ควร มีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
16. ควร มีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า

เมื่อนำมาจัดเป็นกระบวนการ

Input
4. ต้อง คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
7.  ผู้สอนควรมีประสบการณ์การทำงานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
9. ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
11. ต้องให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควร คำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13.  ควร จัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
16. ควร มีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
 
 
Process
 
1. ต้องจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2. ต้องสอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3. ต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
6. ต้องฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
8. ต้องสามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
10. ต้องฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง ไม่ควรฝึกด้วยแบบฝึกหัดจำลอง
 
 
Output
 
14. ควร ให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.  ควร มีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

บทที่ 1 ส่วนที่3 วิวัฒนาการของอาชีวศึกษา

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง.....วิวัฒนาการของอาชีวศึกษา


            วิวัฒนาการของอาชีวศึกษา  ในแต่ละสมัยนั้นแต่งต่างกันออกไป 
-ในสมัยสุโขทัย เราจะได้เรียนรู้มาจากครอบครัว สมมุติว่าครอบครัวเราประกอบอาชีพใด ลูกหลานก็จะมีความรู้ในเรื่องนั้นและประกอบอาชีพตามครอบครัว  
-สมัยกรุงธนบุรี ในสมัยนี้จะเน้นเกี่ยวกับการปกป้องประเทศมากกว่า ไม่ต่อยสนใจในเรื่องของอาชีพมากนัก 
-ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.1-ร.4) ในสมัยนี้การอาชีวศึกษาไม่ได้แยกออกมาอย่างเด่นชัดเท่าไหร่ แต่เป็นการเรียนหนังสือกับการสอนวิชาเพื่อประกอบอาชีพควบคู่กันไป โดยมีพระประมุขเป็นผู้สนับสนุน ต่อมา
-ในสมัยรัชการที่5 ภายหลังการเปลี่ยนแปลง   ได้พระบรมราชานุญาตให้ศาสตร์จารย์แมคฟาร์แลนด์รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานโรงเรียนสวนอนันต์ที่วังนันทอุทยาน  โดยการสอนนั้นห้ามไม่ให้สอนศาสนาคริสเตียน  ให้สอนแต่ธรรมเนียมหนังสือและให้ฝึกหัดลายมือเหมือนวิชาคิดเลขและวิชาช่างที่เป็นประโยชน์และธรรมเนียมต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ
- ปัจจุบัน  การปกครอง โดยคณะราษฎร์ ได้พูดถึง ประกาศหลัก 6 ประการเป็นการบริหารประเทศ จากแผนการศึกษา พ.ศ.2548 มีการเรียนการสอนในขั้นเตรียมอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยนั่นเอง โดยที่การอาชีวศึกษาก็ได้มีการจัดการเรียนการสอนในขั้นอุดมศึกษานี้ด้วย

นิทาน เรื่องหลักสูตรสมัยหิน

บทที่ 1 ส่วนที่ 2   การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง


......นิทานเรื่องหลักสูตรสมัยหิน.....


ได้อ่านนิทานเรื่องหลักสูตรสมัยหิน  สาระสำคัญจากการอ่านคือ


1.น่าสนใจแนวคิดของการจัดการศึกษาของคนในยุคค้อน โดยการเปรียบเทียบกิจกรรมของเด็กและผู้ใหญ่ ว่าเด็กทำกิจกรรมเพื่อสร้างความสนุกสนาน แต่ผู้ใหญ่ทำกิจกรรมเพื่อการกินดีอยู่ดี และสร้างกระบวนระบบการศึกษา สร้างความกินดีอยู่ดี มีเครื่องนุ่งห่ม มีที่อยู่อาศัย  จึงเป็นที่มาของวิชาที่ต้องเรียนในหลักสูตรสมัยยุคหิน


2.เพื่อตอบสนองปรัญญาแนวคิดของการจัดการหลักสูตรยุคค้อนใหม่  มีการจัดการเป็น 3 วิชา
คือ -    วิชาจับปลาด้วยมือเปล่า   เป็นการเรียนเพื่อหาเนื้อสัตว์มาบริโภค ฝึกให้มีความอดทน ว่องไว
-    วิชาใช้กระบองทุบหัวม้าแกลบ   เป็นการเรียนเพื่อใช้เนื้อและหนังของสัตว์มาทำเครื่องนุ่งห่ม ฝึกให้มีความแข็งแรง รวดเร็ว 
-    วิชาใช้ไฟไล่เสือ  เป็นการเรียนเพื่อขับไล่ภัยอันตรายจากสัตว์ร้าย รวมทั้งฝึกความกล้าหาญ


3.ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยจับปลามือเปล่าก็ใช้สวิงในการจับปลา  มีการใช้แร้วดักเลียงผา และมีการขุดหลุมดักหมี  ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น มีวิชาใหม่เกิดขึ้น ซึ่ง 3 วิชานี้คือ อาชีพศึกษา  ส่วน  วิชาเดิม เรียกว่า การศึกษา เพราะเป็นการวางรากฐานที่ดีให้แก่เยาวชนของเผ่า


4.คำว่า อาชีวศึกษา  = การศึกษา  + อาชีพศึกษา    โดยคำว่า การศึกษา หมายถึง สิ่งที่ได้เตรียมจัดให้ไว้กับผู้เรียนโดยมีวัตถุประสงค์และสาระที่ชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง
อาชีพศึกษา  มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยตลอด  เพราะ เป็นการให้ความรู้เพื่อนำมาหาเลี้ยงชีพซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ในอาชีพนั้นๆ  ส่วนการศึกษา  มาจากคำว่า General Education  ซึ่งก็คือ การศึกษาทั่วไป  จำเป็นต้องมีปรากฎในทุกหลักสูตร หรือเรียกว่า Common  Curriculum


5.คำกล่าวที่ว่า "แก่นแท้ของการศึกษาไม่มีวันล้าสมัย เปรียบประดุจผาหิน ซึ่งยืนตระหง่านได้อยากมั่งคั่งชั่วกาลนาน"   จึงหมายความว่า การจัดการศึกษาสายอาชีพ  มิใช่ให้เนื้อหาสาระหรือทักษะประกอบอาชีพเพียงอยากเดียว แต่หลักสูตรของการจัดการศึกษาสายอาชีพจำเป็นและสำคัญย่างยิ่งทุกหลักสูตร  ต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลได้ วางแผน แก้ไขปัญหา  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ซื่อสัตย์ เห็นแแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชนืส่วนตน  สิ่งเหล่านี้ คือ แก่นแท้ของการศึกษา   ที่ไม่มีวันล้าสมัยและหนักแน่น  ดุจดังผาหินนั่นเอง