วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

สอช.


วันนี้พูดถุงเรื่องของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ว่ามีกี่แห่ง และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
จากการเรียนจึงได้่ทราบถึงข้อมูลต่างๆของ สอช.

พันธกิจของ 
• จัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพมาตรฐาน
• ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพ อย่างทั่วถึงและเสมอภาค 
• วิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาอาชีพ
สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีจำนวน 415 แห่ง ประกอบด้วย
1. วิทยาลัยเทคนิค110 แห่ง
2. วิทยาลัยอาชีวศึกษา36 แห่ง
3. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี43 แห่ง
4. วิทยาลัยสารพัดช่าง53 แห่ง
5. วิทยาลัยการอาชีพ 142 แห่ง
6. วิทยาลัยพณิชยการ5 แห่ง
7. วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการต่อเรือ3 แห่ง
8. วิทยาลัยศิลปหัตกรรม2 แห่ง
9. วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยว3 แห่ง
10. วิทยาลัยประมง4 แห่ง
11. กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง 1 แห่ง
12. วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ11 แห่ง
13. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์   1 แห่ง
14. ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร1 แห่ง

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ตราสัญลักษณ์



วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับ 1 -11

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน 1-11
ฉบับที่ 1 (2504-2509)  ฉบับนี้เน้นเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาเพื่อผลิตคนและเศรษฐกิจของประเทศให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ต้องการคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อวางแผนพัฒนาประเทศให้ก้าวทันต่อข่าวสารและเหตุการณ์ในปัจจุบัน
ฉบับที่ 2 (2510-2514) ฉบับนี้เน้นการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เพื่อรวมเทคนิคธนบุรีเข้าด้วยกัน
ฉบับที่ 3 (2515-2519)  เน้นการส่งเสริมสนับสนุนด้านการเกษตร  มุ่งเน้นความสำคัญของอาชีวศึกษาควบคู่ไปกับการเกษตร มีการประกาศใช้พ.ร.บ.วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา คือรวมอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเทคนิค 28 แห่งเข้าด้วยกันและเปิดสอนปริญญาตรี
ฉบับที่ 4 (2520-2524)  มุ่งเน้นเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ มีโครงสร้างหลักสูตรให้มีความเพียงพอในการประกอบอาชีพ ได้กำหนดนโยบายที่จะพัฒนาการศึกษาในชนบทเพื่อการประกอบอาชีพ
ฉบับที่ 5 (2525-2529) เน้นพัฒนาการศึกษาทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพให้เหมาะสมกับความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจ เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความรู้ ความคิ ความสามารถที่จะพัฒนาประเทศได้
ฉบับที่ 6 (2530-2534)  ฉบับนี้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจมาก โดยเน้นฝึกการปฎิบัติด้านการงาน การลงมือทำ อย่างเป็นกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอน   เพื่อเพิ่ม ค่านิยม คุณธรรม ทักษะ และความสามารถให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และขยายสู่ท้องถิ่น
ฉบับที่ 7 (2535-2539) เน้นการพัฒนาการผลิตกำลังคนให้มีความรู้และทักษะที่ดีกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีการประกอบอาชีพอิสระ ส่งเสริมวิชาชีพระยะสั้นแก่ชุมชน
ฉบับที่ 8 (2540-2544) เน้นการฝึกงานให้เกิดความชำนาญด้านทักษะทั้งในสถานศึกษาและสถานประกอบการ  เร่งรัดการดำเนินงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
ฉบับที่ 9 (2545-2549) ได้นำแนวคิดพระราชดำรัชของในหลวงมาใช้ คือ เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นให้ทุกคนมีความพอดี พอประมาน ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป
ฉบับที่ 10 (2550-2554)ยังคงยึดพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญภาย ใต้หลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”   เพื่อให้สามารถพึ่งตนเอง   มีภูมิคุ้มกันและสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นทุกมิติ   โดยอาศัยทุนของประเทศที่มีสะสมอยู่มากมาย  ทั้งทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเสริม สร้างให้เข้มแข็ง  เป็นรากฐานการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืนทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว  ชุมชนและสังคม รวมทั้งระดับประเทศ
ฉบับที่ 11 (2555-2559)ในฉบับปัจจุบันนี้ เน้น พัฒนาเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการเป็นประชาคมอาเซียนิ 3 ด้านด้วยกัน
1.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน 
2.การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาผสมผสานร่วมกับจุดแข็งในสังคมไทยเช่นเชื่อมโยงกับ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เปิดโอกาสการค้าบริการในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น
ท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ 

3.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ เป็นปัจจัยการผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจยุคใหม่ ไปกับการผสมผสานกับเทคโนโลยียุคใหม่ เข้ากับความคิดสร้างสรรค์และความรู้เหมาะสกลายเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า การใช้เทคโนโลยีเช่นเครื่องจักร
ประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ


    บทที่ 1 เรื่องหลักสูตรและวิวัฒนาการของ อาชีวศึกษา

    ...อาชีวศึกษา เริ่มต้นมาจากการศึกษานอกระบบ การความรู้ที่ถ่ายทอดมาในครอบครัว จากรุ่นสู่รุ่น จนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ กระทั่งเห็นความสำคัญของ อาชีวศึกษา จึงจัดเข้าสู่ การเรียนในระบบต่อไป..
    ...วิวัฒนาการของอาชีวศึกษา  ในแต่ละสมัยนั้นแต่งต่างกันออกไป ในสมัยสุโขทัย เราจะได้เรียนรู้มาจากครอบครัว สมมุติว่าครอบครัวเราประกอบอาชีพใด ลูกหลานก็จะมีความรู้ในเรื่องนั้นและประกอบอาชีพตามครอบครัว  สมัยกรุงธนบุรี ในสมัยนี้จะเน้นเกี่ยวกับการปกป้องประเทศมากกว่า ไม่ต่อยสนใจในเรื่องของอาชีพมากนัก ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.1-ร.4) ในสมัยนี้การอาชีวศึกษาไม่ได้แยกออกมาอย่างเด่นชัดเท่าไหร่ แต่เป็นการเรียนหนังสือกับการสอนวิชาเพื่อประกอบอาชีพควบคู่กันไป โดยมีพระประมุขเป็นผู้สนับสนุน ต่อมาในสมันรัชการที่5 ภายหลังการเปลี่ยนแปลง - ปัจจุบัน  การปกครอง โดยคณะราษฎร์ ได้พูดถึง ประกาศหลัก 6 ประการเป็นการบริหารประเทศ จากแผนการศึกษา พ.ศ.2548 มีการเรียนการสอนในขั้นเตรียมอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยนั่นเอง โดยที่การอาชีวศึกษาก็ได้มรการจัดการเรียนการสอนในขั้นอุดมศึกษานี้ด้วย

    วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

    การศึกษาด้วยตนเอง บทที่ 1 เรื่อง สาระเบื้องต้นของอาชีวศึกษา

    1. บทนำ เรื่องแนวคิดของอาชีวศึกษา   
    ...........อาชีวเกิดขึ้นครั้งแรกทั้งในไทยและสากล เริ่มแรกเกิดขึ้นที่เป็นการศึกษานอกระบบ เป็นการเรียนที่ไม่มีแบบแผน เนื้อหาความรู้เพื่อการยังชีพ ถ่ายทอดสู่รุ่นต่อรุ่น แต่ต่อมาได้มีหน่วยงานเข้ามาวางนโยบายกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานได้ชัดเจนมากขึ้น
    ...........ถ้ามีคนถามว่าอาชีวศึกษานั้น คือ อะไร หลายคนคงตอบว่า คือ การเรียนที่ทำให้มีอาชีพ นั่นล่ะคืออาชีวศึกษา  ความหมายของอาชีวศึกษานั้นยังไม่ลงตัว แต่มีข้อสังเกตที่ทำให้อาชีวศึกษา ต่างจากการประกอบอาชีพคือ 1ระดับของการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก้อตาม อาชีวศึกษาไม่ใช่การเรียนเพื่อการประกอบอาชีพเพียงเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะที่ใช้ในการดำรงชีวิต การติดต่อสื่อสาร และทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกันในสังคม
    .........เป้าหมายของอาชีวศึกษา คือ เพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานได้ โดยต้องมีคุณสมบัติ คือ 1.ความเป็นเอกในการแข่งขัน 2.ผลิตผลงานที่มีคุณภาพ 3.มีทักษะปฎิรูปแบบผสมผสาน 4.มีคุณค่าและจริยธรรม 5.เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 6.ตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ซึ่งคุณสมบัติทั้ง 6 ทำให้เกิดเป้าหมายที่แท้จริงของอาชีวศึกษา ที่ว่า" ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา ใช้เวลาให้เกิดคุณ"