วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

นิทาน เรื่องหลักสูตรสมัยหิน

บทที่ 1 ส่วนที่ 2   การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง


......นิทานเรื่องหลักสูตรสมัยหิน.....


ได้อ่านนิทานเรื่องหลักสูตรสมัยหิน  สาระสำคัญจากการอ่านคือ


1.น่าสนใจแนวคิดของการจัดการศึกษาของคนในยุคค้อน โดยการเปรียบเทียบกิจกรรมของเด็กและผู้ใหญ่ ว่าเด็กทำกิจกรรมเพื่อสร้างความสนุกสนาน แต่ผู้ใหญ่ทำกิจกรรมเพื่อการกินดีอยู่ดี และสร้างกระบวนระบบการศึกษา สร้างความกินดีอยู่ดี มีเครื่องนุ่งห่ม มีที่อยู่อาศัย  จึงเป็นที่มาของวิชาที่ต้องเรียนในหลักสูตรสมัยยุคหิน


2.เพื่อตอบสนองปรัญญาแนวคิดของการจัดการหลักสูตรยุคค้อนใหม่  มีการจัดการเป็น 3 วิชา
คือ -    วิชาจับปลาด้วยมือเปล่า   เป็นการเรียนเพื่อหาเนื้อสัตว์มาบริโภค ฝึกให้มีความอดทน ว่องไว
-    วิชาใช้กระบองทุบหัวม้าแกลบ   เป็นการเรียนเพื่อใช้เนื้อและหนังของสัตว์มาทำเครื่องนุ่งห่ม ฝึกให้มีความแข็งแรง รวดเร็ว 
-    วิชาใช้ไฟไล่เสือ  เป็นการเรียนเพื่อขับไล่ภัยอันตรายจากสัตว์ร้าย รวมทั้งฝึกความกล้าหาญ


3.ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยจับปลามือเปล่าก็ใช้สวิงในการจับปลา  มีการใช้แร้วดักเลียงผา และมีการขุดหลุมดักหมี  ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น มีวิชาใหม่เกิดขึ้น ซึ่ง 3 วิชานี้คือ อาชีพศึกษา  ส่วน  วิชาเดิม เรียกว่า การศึกษา เพราะเป็นการวางรากฐานที่ดีให้แก่เยาวชนของเผ่า


4.คำว่า อาชีวศึกษา  = การศึกษา  + อาชีพศึกษา    โดยคำว่า การศึกษา หมายถึง สิ่งที่ได้เตรียมจัดให้ไว้กับผู้เรียนโดยมีวัตถุประสงค์และสาระที่ชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง
อาชีพศึกษา  มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยตลอด  เพราะ เป็นการให้ความรู้เพื่อนำมาหาเลี้ยงชีพซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ในอาชีพนั้นๆ  ส่วนการศึกษา  มาจากคำว่า General Education  ซึ่งก็คือ การศึกษาทั่วไป  จำเป็นต้องมีปรากฎในทุกหลักสูตร หรือเรียกว่า Common  Curriculum


5.คำกล่าวที่ว่า "แก่นแท้ของการศึกษาไม่มีวันล้าสมัย เปรียบประดุจผาหิน ซึ่งยืนตระหง่านได้อยากมั่งคั่งชั่วกาลนาน"   จึงหมายความว่า การจัดการศึกษาสายอาชีพ  มิใช่ให้เนื้อหาสาระหรือทักษะประกอบอาชีพเพียงอยากเดียว แต่หลักสูตรของการจัดการศึกษาสายอาชีพจำเป็นและสำคัญย่างยิ่งทุกหลักสูตร  ต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลได้ วางแผน แก้ไขปัญหา  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ซื่อสัตย์ เห็นแแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชนืส่วนตน  สิ่งเหล่านี้ คือ แก่นแท้ของการศึกษา   ที่ไม่มีวันล้าสมัยและหนักแน่น  ดุจดังผาหินนั่นเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น